ผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายและสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมในจุดหนึ่งของช่วงชีวิตจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับความร้อนที่เข้มข้น รังสี UV หรือสารเคมีซึ่งอาจทำให้เกิดแผลไหม้ ผิวไหม้แดด หรือการบาดเจ็บน้ำร้อนลวกจนเกิดรอยแผลเป็นน้ำร้อนลวก รอยแผลเป็นจากแผลไหม้อาจต่างจากรอยแผลเป็นชนิดอื่น
- แผลไหม้ถูกจัดลำดับตามระดับของความรุนแรง
- แผลไหม้ระดับสองและสามจะหลงเหลือรอยแผลเป็นจากแผลไหม้ทิ้งไว้
- การเกิดรอยแผลเป็นจากแผลไหม้ยังอาจมีผลต่อการเคลื่อนไหวของข้อต่อ
- การดูแลผิวหนังให้ดีเพื่อป้องกันผิวไหม้แดด
เนื้อหาในบทความนี้จะพูดถึง:
- เกิดรอยแผลเป็นจากแผลไหม้ได้อย่างไร?
- รอยแผลเป็นจากแผลไหม้แตกต่างจากรอยแผลเป็นชนิดอื่นอย่างไร?
- รอยแผลเป็นจากผิวไหม้แดด
- การดูแลผิวไหม้แดด – เคล็ดลับและข้อเท็จจริง
เกิดรอยแผลเป็นจากแผลไหม้ได้อย่างไร?
แผลไหม้เป็นเรื่องปกติเนื่องจากผิวหนังของเราเป็นอวัยวะที่เปิดเผยมากที่สุดของร่างกาย การบาดเจ็บน้ำร้อนลวกจนเกิดเป็นแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก จะถูกแบ่งกลุ่มเป็น 3 ระดับ:
- แผลไหม้ระดับที่หนึ่ง
- แผลไหม้ระดับที่สอง
- แผลไหม้ระดับที่สาม
ระดับยิ่งสูง แผลไหม้ยิ่งร้ายแรง อาจต้องพบแพทย์หรือแพทย์แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
แผลไหม้ระดับที่หนึ่งไม่มีแนวโน้มที่จะทิ้งรอยแผลเป็นไว้บนผิวหนังเนื่องจากมีผลต่อหนังกำพร้าเท่านั้น ในทางกลับกัน แผลไหม้ระดับที่สองและสามส่งผลต่อหนังแท้ จึงเพิ่มโอกาสที่จะเกิดรอยแผลเป็น [1–3]
จึงมีความสำคัญที่ผิวหนังที่ไหม้ต้องได้รับการดูแลอย่างถูกต้องอย่างรวดเร็วที่สุด แพทย์หรือพยาบาลอาจเลือกใช้ครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับแผลไหม้และสิ่งแต่งแผลที่เหมาะสม[4]
เป็นไปไม่ได้ที่จะป้องกันการเกิดรอยแผลเป็นจากแผลไหม้ที่เกิดจากแผลไหม้รุนแรงได้ทั้งหมดเนื่องจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกมีแนวโน้มที่จะเกิดรอยแผลเป็นแบบนูนโตหรือแบบคีลอยด์ [5] ถ้าแผลไหม้เกิดขึ้นในบริเวณที่มีความตึง เช่น ข้อต่อ อาจเกิดรอยแผลเป็นที่เรียกว่าแบบหดรั้งซึ่งอาจจำกัดการเคลื่อนไหว [6,7]