รอยแผลเป็นจากการผ่าตัดคืออะไร?
การผ่าตัดมักทำให้เกิดรอยแผลเป็นถาวรที่เกิดจากการกรีดผิวหนังระหว่างการลงมือ ศัลยแพทย์จะปิดแผลนี้ให้ดีสุดความสามารถซึ่งจะหายดีพร้อมกับมีรอยแผลเป็นขนาดเล็ก
นอกจากบาดแผลแล้ว ตำแหน่งและเทคนิคการปิดแผลก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อชนิดของรอยแผลเป็นที่จะเกิดจากการผ่าตัด บางชนิดก็ควบคุมได้ด้วยตัวเอง เช่น การสัมผัสกับแสงหรือการสูบบุหรี่ แต่บางชนิดก็ทำอะไรไม่ได้ ซึ่งได้แก่อายุ, ความบกพร่องทางพันธุกรรม, บรรพบุรุษและชาติพันธุ์
รอยแผลเป็นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสมานแผลของร่างกายตามธรรมชาติ การเกิดรอยแผลเป็นหลังการผ่าตัดแบ่งเป็นสามระยะ[1]:
- ในระยะอักเสบซึ่งเกิดขึ้นทันทีหลังจากการปิดแผลโดยศัลยแพทย์ และกินเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ร่างกายเริ่มกระบวนการปิดแผลด้วยการแข็งตัวของเลือด
- ตลอด 1 ถึง 2 สัปดาห์ต่อมา เนื้อเยื่อเส้นใยจะก่อตัวโดยคอลลาเจนและการสังเคราะห์อีลาสตินซึ่งทำให้เกิดรอยแผลเป็น ซึ่งอาจจะแดงและคัน ช่วงนี้เรียกว่าระยะงอกขยาย
- ในระหว่างระยะปรับโครงสร้างขั้นสุดท้าย ส่วนล่างของรอยแผลเป็นจะผ่านกระบวนการสมานตัวและปรับโครงสร้างซึ่งตามหลักการคือจะเข้าแทนที่คอลลาเจนที่สะสมอยู่อย่างไม่เป็นระเบียบในช่วงแรกด้วยคอลลาเจนที่เป็นระเบียบ ซึ่งทำให้รอยแผลเป็นมีสีซีดมากขึ้น, นิ่มขึ้น และบอบบางน้อยลง
ตามปกติรอยแผลเป็นจะคงรูปร่างขั้นสุดท้ายหลังจากผ่านไป 1 ถึง 2 ปี ตามปกติรอยแผลเป็นหลังการผ่าตัดได้แก่:
- รอยแผลเป็นแบบนูนโตซึ่งเริ่มก่อตัวระหว่างระยะอักเสบ จะมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วภายในขอบเขตของการกรีด และ
- รอยแผลเป็นแบบคีลอยด์ซึ่งเริ่มแสดงให้เห็นประมาณหนึ่งปีหลังการผ่าตัด และบางครั้งก็เจ็บและคัน รอยแผลเป็นแบบนี้มีขนาดใหญ่เกินรอยกรีดจากการผ่าตัด และตามปกติจะปรากฏอยู่ในบริเวณซึ่งผิวหนังหนาและบนผิวสีเข้ม [2]