รอยแผลเป็นมีชนิดใดบ้าง?
มีรอยแผลเป็น 5 ชนิดที่ต่างกันซึ่งสามารถเกิดขึ้นบนผิวหนัง: normal, keloid, hypertrophic, atrophic and contracture (รอยแผลเป็นปกติ, แบบคีลอยด์, แบบนูนโต, แบบหลุม, และแบบหดรั้ง) ซึ่งทุกชนิดมีขนาด รูปทรง และประเภทของพื้นที่ซึ่งมีส่งผลกระทบต่างกัน
รอยแผลเป็นปกติ
รอยแผลเป็นปกติเกิดขึ้นเมื่อแผลหายดีในสภาพแวดล้อมปกติ รอยแผลเป็นแบบนี้จะเรียบ ซีด และค่อยๆ จางลงเมื่อเวลาผ่าน
รอยแผลเป็นแบบคีลอยด์
รอยแผลเป็นแบบคีลอยด์จะนูนและใหญ่กว่าปกติเนื่องจากการผลิตคอลลาเจนมากเกินตรงตำแหน่งแผล หรืออาจแผ่ขยายเกินตำแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บ สาเหตุยังไม่ทราบอย่างแท้จริง แต่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม และพบได้มากในผิวสีเข้ม[2] รอยแผลเป็นแบบนี้อาจคันและเจ็บปวด
รอยแผลเป็นแบบนูนโต
รอยแผลเป็นแบบนูนโตก็เกิดจากการผลิตคอลลาเจนมากเกิน แต่เมื่อเทียบกับแบบคีลอยด์ รอยแผลเป็นแบบนูนโตมีคอลลาเจนน้อยกว่า รอยแผลเป็นแบบนี้เป็นรอยแผลเป็นนูน และอาจคันและเจ็บปวด แต่อยู่ในขอบเขตที่เกิดการบาดเจ็บซึ่งไม่เหมือนแบบคีลอยด์
รอยแผลเป็นแบบหลุม
รอยแผลเป็นแบบหลุมเป็นรอยแผลเป็นที่บุ๋มลงไป และตามปกติเกิดจากสิวรุนแรง รอยแผลเป็นแบบนี้เกิดขึ้นเมื่อผลิตคอลลาเจนได้น้อยเกินไปและมีลักษณะยุบตัวซึ่งเกิดจากการสูญเสียเนื้อเยื่อพยุง[3,4]
รอยแผลเป็นแบบหดรั้ง
รอยแผลเป็นแบบหดรั้งเกิดจากรอยแผลเป็นแบบนูนโตที่อยู่บนข้อต่อ รอยแผลเป็นแบบนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนที่ไม่ได้ของข้อต่อระหว่างการสมานแผล และทำให้เกิดความพิการและความเจ็บปวดเป็นพิเศษเนื่องจากการเคลื่อนตัวของข้อต่อที่ถูกจำกัด [5]